สวัสดีค่ะ เจ ค่ะ |
วิดีโอนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับวันเข้าพรรษาซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ของทุกปีเป็นวันที่พระสงฆ์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีพุทธบัญญัติเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งข้อ ทำให้ไม่สามารถออกไปเผยแผ่พระธรรมคำสอนได้อย่างอิสระเหมือนปกติ |
เริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าบัญญัติข้อนั้นคืออะไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังกันเลยค่ะ |
ในช่วงเข้าพรรษา ประชาชนส่วนหนึ่งผู้ที่ไม่ได้เป็นพระภิกษุ ก็จะร่วมใจกันจำกัดพฤติกรรมตนเองด้วยเช่นกัน พฤติกรรมเหล่านั้นคืออะไร |
เราจะเฉลยคำตอบในช่วงท้ายของวิดีโอนี้ค่ะ |
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ ในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบต้นข้าวและพืชผลอื่น ๆ จนเสียหาย ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบให้พระภิกษุอยู่พักแรมประจำวัดหรือสถานที่ใดที่หนึ่งที่เดียวตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ซึ่งเรียกว่า การเข้าพรรษา เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปพักแรมได้ คราวละไม่เกิน 7 คืน |
กิจกรรมในช่วงเข้าพรรษายอดนิยมอย่างหนึ่งของชายไทยนั่นก็คือการบวช วัดทั่วประเทศจะจัดงานอุปสมบทสำหรับพระใหม่ขึ้นพร้อมๆกันเนื่องจากมีคนต้องการบวชจำนวนมาก เหตุก็เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะได้อยูจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน อีกทั้งเป็นช่วงเวลาประจวบเหมาะที่พระอาจารย์ ผู้อาวุโสอยู่ประจำวัดตลอด ทำให้ได้รับการสั่งสอนและสามารถศึกษาพระธรรมคำสอนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังเป็นฤดูฝนซึ่งสภาพอากาศเป็นใจในการศึกษา ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป |
ในช่วงก่อนเข้าพรรษา จะมีประเพณีสำคัญที่สืบทอดกันมายาวนานนั่นก็คือ ประเพณีแห่เทียนพรรษา เนื่องจากสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมากๆ ก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมร่วมกันหล่อเทียนต้นใหญ่ เพื่อจะสามารถจุดได้ตลอดเวลา 3 เดือน ไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้าน ก่อนถวาย ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่ไปรอบเมืองอย่างสนุกสนาน บางแห่งจะมีการจัดประกวดการตกแต่งเทียนพรรษาเป็นลวดลายต่างๆอีกด้วย |
ข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้เกิน 7 คืน โดยไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนด ได้แก่ การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกไม่ให้สึก การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ และการถูกนิมนต์ไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ |
และตอนนี้ เราจะเฉลยคำตอบของคำถามในช่วงต้นของวิดีโอกันค่ะ |
ในช่วงเข้าพรรษา ประชาชนส่วนหนึ่งผู้ที่ไม่ได้เป็นพระภิกษุ ก็จะร่วมใจกันจำกัดพฤติกรรมตนเองด้วยเช่นกัน พฤติกรรมเหล่านั้นคืออะไร |
บางคนจะตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษในช่วงนี้ เช่น งดดื่มสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น บางคนถึงขนาดตั้งใจเลิกเลยก็มี บ้างก็ตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระตลอดพรรษาตั้งใจทำความดีและงดเว้นการกระทำบาป |
บทเรียนนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ |
แล้วพระสงฆ์ในประเทศของเพื่อนๆมีการเข้าพรรษาแบบนี้มั้ยค่ะ |
สุดท้ายนี้ ถ้ามีความคิดเห็นอย่างไรก็ส่งมาให้พวกเราได้ที่ ThaiPod101.com แล้วพบกันได้ใหม่ในบทเรียนครั้งต่อไปค่ะ |
Comments
Hide