งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีทางพุทธศาสนา โดยปกติจะจัดงานขึ้นในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงเข้าฤดูฝนและพระสงฆ์จะอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ไม่ออกไปไหน ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมถวายอาหารของใช้จำเป็น และเทียน เพื่อให้พระสงฆ์ได้อยู่อย่างสบาย ในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ และการหาซื้อเทียนสำเร็จรูปก็ยากลำบาก ชาวบ้านจึงนำเอาขี้ผึ้งมาหลอมทำเป็นแท่งเทียนขึ้นมา และนำไปถวายพระตามวัดต่างๆ แต่ในปัจจุบันชาวบ้านจะถวายหลอดไฟแทนเทียนเพราะสว่างกว่า ใช้ง่ายกว่า และสะดวกกว่า
ในสมัยก่อนไม่มีการเดินแห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน เป็นแค่การนำเทียนและของใช้อื่นๆ ไปถวายพระและรับพรจากพระเท่านั้น และเทียนก็มีขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบันการแห่เทียนกลายเป็นการประกวดฝีมือการทำเทียนเป็นหลัก การแห่เทียนในประเทศไทยมีมากมายหลายจังหวัด แต่โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการแห่เทียนที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมาก ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาชมการแห่เทียนมากมาย
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีเริ่มครั้งแรกเมื่อปีี พ.ศ. 2470 แต่เดิมเป็นเพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน ติดกระดาษให้สวยงาม และมีการประกวดให้รางวัลกัน จากนั้นจึงนำไปถวายวัด มีการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน แต่ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น มีการหล่อออกจากเบ้าพิมพ์เป็นรูปต่างๆ และแกะสลักเทียนให้สวยงาม รูปหล่อและ รูปแกะสลักจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีการประกวดประชันความสามารถในการหล่อเทียน และตกแต่งเทียนให้สวยงามอลังการ
กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้คือการไปดูตกแต่งต้นเทียนที่ชุมชนหรือคุ้มวัดต่างๆ ในช่วงการเตรียมงาน มีการเวียนเทียนตามวัดต่างๆ ในเวลาค่ำของวันอาสาฬหบูชา และในค่ำวันเดียวกันนั้นต้นเทียนพรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ จะทุกย้ายมาตั้งไว้ที่บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและถ่ายรูปได้ นอกจากนี้ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา จะมีการแห่เทียน แต่ละขบวนจะมีการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ และการบรร เลงดนตรีพื้นเมือง เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยาก
Comments
Hideงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีทางพุทธศาสนา โดยปกติจะจัดงานขึ้นในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงเข้าฤดูฝนและพระสงฆ์จะอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ไม่ออกไปไหน ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมถวายอาหารของใช้จำเป็น และเทียน เพื่อให้พระสงฆ์ได้อยู่อย่างสบาย ในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ และการหาซื้อเทียนสำเร็จรูปก็ยากลำบาก ชาวบ้านจึงนำเอาขี้ผึ้งมาหลอมทำเป็นแท่งเทียนขึ้นมา และนำไปถวายพระตามวัดต่างๆ แต่ในปัจจุบันชาวบ้านจะถวายหลอดไฟแทนเทียนเพราะสว่างกว่า ใช้ง่ายกว่า และสะดวกกว่า
ในสมัยก่อนไม่มีการเดินแห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน เป็นแค่การนำเทียนและของใช้อื่นๆ ไปถวายพระและรับพรจากพระเท่านั้น และเทียนก็มีขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบันการแห่เทียนกลายเป็นการประกวดฝีมือการทำเทียนเป็นหลัก การแห่เทียนในประเทศไทยมีมากมายหลายจังหวัด แต่โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการแห่เทียนที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมาก ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาชมการแห่เทียนมากมาย
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีเริ่มครั้งแรกเมื่อปีี พ.ศ. 2470 แต่เดิมเป็นเพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน ติดกระดาษให้สวยงาม และมีการประกวดให้รางวัลกัน จากนั้นจึงนำไปถวายวัด มีการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน แต่ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น มีการหล่อออกจากเบ้าพิมพ์เป็นรูปต่างๆ และแกะสลักเทียนให้สวยงาม รูปหล่อและ รูปแกะสลักจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีการประกวดประชันความสามารถในการหล่อเทียน และตกแต่งเทียนให้สวยงามอลังการ
กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้คือการไปดูตกแต่งต้นเทียนที่ชุมชนหรือคุ้มวัดต่างๆ ในช่วงการเตรียมงาน มีการเวียนเทียนตามวัดต่างๆ ในเวลาค่ำของวันอาสาฬหบูชา และในค่ำวันเดียวกันนั้นต้นเทียนพรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ จะทุกย้ายมาตั้งไว้ที่บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและถ่ายรูปได้ นอกจากนี้ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา จะมีการแห่เทียน แต่ละขบวนจะมีการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ และการบรร เลงดนตรีพื้นเมือง เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยาก